วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

TQM,BPRคืออะไร และ การจัดการความรู้ คืออะไร

TQM คืออะไร
TQM เป็นศัพท์ทางการบริหารงานคุณภาพคำไม่ที่นำมาใช้แทนคำเดิมคือ TQC (Total Quality Control) ซึ่งนับว่าไม่ได้มีความหมายแตกต่างจากเดิมมากนัก เว้นเสียแต่มีมุมมองที่เป็นระบบมากขึ้น
โดยความรวมแล้ว TQM ก็คือ แนวทางในการบริหารงานที่มุ่งเน้นคุณภาพโดยที่สมาชิกหรือพนักงานทุกคนในองค์การมีส่วนร่วมและมุ่งหมายต่อผลงานที่ระยะยาว โดยผลงานที่มุ่งนั้น เน้นไปที่ความพึงพอใจของลูกค้า รวมทั้งสร้างผลประโยชน์ต่อสมาชิกทุกคนในองค์กร
โดยความหมายประการนี้ TQM จึงมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ
1) การมุ่งเน้นคุณภาพ (Quality Orientation) โดยคุณภาพที่เน้นนั้นก็มุ่งให้เกิดความพึงพอใจต่อสินค้าหรือบริการที่ให้ต่อลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าภายในหรือลูกค้าภายนอก ซึ่งประการแรกนั้น เราจะต้องทราบความต้องการของลูกค้าให้ถูกต้องและครบถ้วนเสียก่อน เมื่อทราบแล้ว องค์กรก็ต้องจัดแจงให้พนักงานในสังกัดได้ทราบและตระหนักถึงความต้องการของลูกค้าที่เรามุ่งตอบสนอง จากนั้นก็จะนำความต้องการนี้มากำหนดเป็นตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน
2) ทุกคนมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม (Total Involvement and Teamwork) ที่พนักงานในองค์การทุกคนจะต้องร่วมกันสร้าง และผู้บริหารเองก็ต้องมุ่งสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานและทำงานเป็นทีม (Team-oriented)ในขณะหนึ่ง ผู้บริหารเองก็ต้องให้ความสำคัญร่วมมือกับพนักงานอย่างจริงจังด้วย
3) แก้ไขปัญหาและปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Trouble Service and Continuous Improvement) เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสอดรับกับสถานการณ์ และนำการเปลี่ยนแปลงนั้นมาเป็นข้อมูลเพื่อการปรับปรุงงานให้สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่สำคัญจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการกำหนดและปรับปรุงวิธีการทำงานด้วย

Business Process Reengineering หรือ Business Process Redisign หรือที่เรียกย่อๆว่า BPR นั้นคือความพยายามเชิงการจัดการ ที่มีความมุ่งหมายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกระบวนการทำงานขององค์กรตลอดทั้งระบบ วิธีการนั้นก็แสนจะง่าย เพียงมองกลับไปมองที่ระบบการทำงานขององค์กร เดเวนพอร์ท (1993) หนึ่งในผู้ก่อตั้ง BRP ชี้ว่า วิธีการ Reengineering นั้นจะต้องคิดหารูปแบบใหม่ในวิธีการทำงาน, กิจกรรมที่จำเป็นต้องทำจริงจริง และการนำเอาคน, วิทยาการ และองค์กร มาประสานเข้าด้วยกัน
แหล่งที่มา


 การจัดการความรู้ คืออะไร
   การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
       1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
      2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
      ความหมายของคำว่า การจัดการความรู้ คือ สำหรับนักปฏิบัติการจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่
     1. บรรลุเป้าหมายของงาน
     2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
     3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
     4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น